Friday, December 30, 2011

ประโยชน์ของ TQM

TQM เป็นปรัชญาการบริหารที่มุ่งขจัดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงาน โดยการดำเนินงานในเชิงรุก (Proactive) ที่ตื่นตัวและป้องกันล่วงหน้า ผ่านการดำเนินงานที่พยายามประสานทรัพยากร และกิจกรรมขององค์การให้เข้าสู่เป้าหมายด้านคุณภาพและมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด นอกจากนี้ TQM ยังเป็นทั้งเทคนิคหรือเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยให้องค์การสามารถแก้ไขปัญหา พัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์จากการทำ TQM ดังนี้

1) ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด สามารถจะสร้างสินค้าและบริการให้เป็นที่พอใจแก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างรายได้ กำไร ความอยู่รอด และการเจริญเติบโตของธุรกิจ

2) ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน สามารถบริหารต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

3) พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบ และแก้ไขได้ง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ

4) พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ จึงเกิดความพอใจในการทำงาน

5) มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ โดยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

TQM เป็นการบริหารที่ยังคงความทันสมัย และอยู่ในความสนใจของผู้บริหารต่อไป โดย TQM จะไม่ใช่เครื่องมือแบบชั่วครั้งชั่วคราวตามแฟชั่น (Fad) ในการบริหารงาน TQM จะเป็นการบริหารงานที่ต้องการเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงาน ทำให้องค์การมีความคล่องตัวสามารถสนองต่อความต้องการของลูกค้า และสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม ผ่านบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถแก้ไขปัญหา และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างความสามารถในการแข่งขัน และนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจ

สรุป
การจัดการคุณภาพโดยรวม หรือ TQM หมายถึง วัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการและสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า โดย TQM จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวคิดการบริหารงานอื่น ซึ่งเราสามารถกล่าวได้ว่า TQM จะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ ให้ความสำคัญกับลูกค้า การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม
TQM จะแตกต่างจากการจัดการและการควบคุมคุณภาพแบบเดิมที่ดำเนินงานเชิงป้องกัน และติดตามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ขณะที่ TQM จะดำเนินงานในเชิงรุกที่มุ่งแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และดำเนินงานครอบคลุมทุกขั้นตอนของธุรกิจ ที่ต้องดำเนินงานด้วยความเข้าใจ และฝังรากลึกลงไปในวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน สร้างความพอใจให้ลูกค้า ความพอใจในการทำงาน และผลักดันให้องค์การดำเนินไปสู่การเป็นองค์การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ

1 comments:

James jones said...

I am frequently to blogging and i actually appreciate your content regularly. Your content has really peaks my interest. Let me bookmark your internet site and maintain checking for first time information. Inspection Services in India

Post a Comment

 
Copyright Define Total Quality Management All Rights Reserved